พุทธสุภาษิต

 

พุทธสุภาษิต


============

๑.กัมมวรรค - หมวดกรรม

============


คำบาลี = กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.

คำอ่าน = กัมมัง สัดเต วิภะชะติ ยะทิทัง หีนับปะนีตะตายะ

คำแปล = กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.


คำบาลี = ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.

คำอ่าน = ยังกินจิ สิถิลัง กัมมัง นะตังโหติ มะหับผะลัง

คำแปล = การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.


คำบาลี = สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ

คำอ่าน = สานิ กัมมานิ นะยันติ ทุกคะติ

คำแปล = กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.


คำบาลี = สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.

คำอ่าน = สาธุ ปาเปนะ ทุกกะรัง

คำแปล = ความดี อันคนชั่วทำยาก.


คำบาลี = อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.

คำอ่าน = อะกะตัง ทุกกะตัง เสยโย

คำแปล = ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.


คำบาลี = ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.

คำอ่าน = ปัดฉา ตับปะติ ทุกกะตัง

คำแปล = ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.


คำบาลี = กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.

คำอ่าน = กะตันจะ สุกะตังเสยโย

คำแปล = ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.


คำบาลี = น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.

คำอ่าน = นะตังกัมมัง กะตังสาธุ ยังกัดวา อะนุตับปะติ

คำแปล = ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.


คำบาลี = ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.

คำอ่าน = ตันจะกัมมัง กะตังสาธุยัง กัดวานานุตับปะติ

คำแปล = ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.


คำบาลี = สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.

คำอ่าน = สุกะรานิ อะสาธูนิ อัตตะโน อะหิตานิจะ

คำแปล = การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.


คำบาลี = ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.

คำอ่าน = ยังเวหิตันจะ สาทันจะตังเว ปะระมะทุกกะรัง

คำแปล = การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.


คำบาลี = น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.

คำอ่าน = นะหิตัง สุละพังโหติ สุขัง ทุกกะตะการินา

คำแปล = สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.


คำบาลี = กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.

คำอ่าน = กันยานะการี กันยานัง ปาปะการี จะปาปะกัง

คำแปล = สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.


คำบาลี = นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.

คำอ่าน = นิสัมมะ กะระนัง เสยโย

คำแปล = ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.


คำบาลี = กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ.

คำอ่าน = กะตัดสะ นัดถิ ปะติการัง

คำแปล = สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.


คำบาลี = กยิรา เจ กยิราเถนํ.

คำอ่าน = กะยิราเจ กะยิราเถนัง

คำแปล = ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ).


คำบาลี = กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.

คำอ่าน = กะเรยยะ วากุยัง อะนุกัมปะกานัง

คำแปล = ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.


คำบาลี = กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.

คำอ่าน = กาลานุรูปังวะ ธุรังนิยุนเช

คำแปล = พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.


คำบาลี = รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.

คำอ่าน = รักเขยยะ อัตตะโนสาทัง ละวะนังโลนะตัง ยะถา

คำแปล = พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.


คำบาลี = กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ

คำอ่าน = กิดจานุกุบพัดสะ กะเรยยะกิดจัง

คำแปล = พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.


คำบาลี = นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.

คำอ่าน = นานัดถะกามัดสะ กะเรยยะอัตถัง

คำแปล = ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.


คำบาลี = มา จ สาวชฺชมาคมา.

คำอ่าน = มาจะ สาวัดชะมาคะมา

คำแปล = อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.


============

๒.อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท

============


คำบาลี = อปฺปมาโท อมตํปทํ.

คำอ่าน = อับปะมาโท อะมะตังปะทัง

คำแปล = ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.


คำบาลี = อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ

คำอ่าน = อับปะมาทันจะ เมทาวีทะนัง เสตะถังวะ รักขะติ

คำแปล = ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.


คำบาลี = อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.

คำอ่าน = อับปะมาทัง ปะสังสันติ

คำแปล = บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.


คำบาลี = อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.

คำอ่าน = อับปะมาเท ปะโมทันติ

คำแปล = บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.


คำบาลี = อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.

คำอ่าน = อับปะมัดตา นะมียันติ

คำแปล = ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.


คำบาลี = อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.

คำอ่าน = อับปะมัดโต หิชายันโต ปับโปติ วิปุลัง สุขัง

คำแปล = ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.


คำบาลี = อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต.

คำอ่าน = อับปะมัดโต อุโพ อัดเถ อะทิกคะนะหาติ ปันทิโต

คำแปล = บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.


คำบาลี = อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.

คำอ่าน = อับปะมาเทนะ สัมปาเทถะ

คำแปล = ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.


คำบาลี = อปฺปมาทรตา โหถ.

คำอ่าน = อับปะมาทะระตา โหถะ

คำแปล = ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.


============

๓.กิเลสวรรค - หมวดกิเลส

============


คำบาลี = สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.

คำอ่าน = สังกับปะราโค ปุริสัดสะ กาโม

คำแปล = ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.


คำบาลี = น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.

คำอ่าน = นะสันติ กามา มะนุเชสุ นิดจา

คำแปล = กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.


คำบาลี = กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.

คำอ่าน = กาเมหิ โลกัมหิ นะอัดถิ ติดติ

คำแปล = ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.


คำบาลี = น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.

คำอ่าน = นะกะหาปะนะวัดเสนะ ติดติ กาเมสุ วิดชะติ

ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.


คำบาลี = นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.

คำอ่าน = นัดถิกามา ปะรังทุกขัง

คำแปล = ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.


คำบาลี = นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.

คำอ่าน = นัดถิ ตันหาสะมา นะที

คำแปล = แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.


คำบาลี = อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.

คำอ่าน = อิดฉา โลกัดมิ ทุดชะหา

คำแปล = ความอยากละได้ยากในโลก.


คำบาลี = อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.

คำอ่าน = อิดฉาหิ อะนันตะโคจะรา

คำแปล = ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.


คำบาลี = อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.

คำอ่าน = อิดฉานะรัง ปะริกัดสะติ

คำแปล = ความอยากย่อมเสือไสซึ่งนรชน.


คำบาลี = นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.

คำอ่าน = นัดถิ ราคะสะโม อักคิ

คำแปล = ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.


คำบาลี = โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.

คำอ่าน = โลโพ ธัมมานัง ปะริปันโถ

คำแปล = ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.


คำบาลี = อติโลโภ หิ ปาปโก.

คำอ่าน = อะติโลโพ หิปาปะโก

คำแปล = ความละโมบเป็นบาปแท้.


คำบาลี = นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.

คำอ่าน = นัดถิ โมสะหะมัง ชาลัง

คำแปล = ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.


คำบาลี = ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.

คำอ่าน = พิโยจะกาเม อะพิปัดถะยันติ

คำแปล = ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.


คำบาลี = อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ.

คำอ่าน = อูนาวะ หุดวานะ ชะหันติเทหัง

คำแปล = ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.


คำบาลี = โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเว อตฺตนํ.

คำอ่าน = โพคะตันหายะ ทำเมโท หันติอันเว อัดตะนัง

คำแปล = ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้ โภคทรัพย์.


คำบาลี = อวิชฺชานิวุตา โปสา.

คำอ่าน = อะนิดชานิวุตา โปสา

คำแปล = คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.


============

๔.จิตตวรรค - หมวดจิต

============


คำบาลี = จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.

คำอ่าน = จิดเต สังกิลิตะเถ ทุกคะติ ปาติกังขา

คำแปล = เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.


คำบาลี = จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา.

คำอ่าน = จิดเต อะสังกิลิตะเถ สุคะติ ปาติกังขา

คำแปล = เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้


คำบาลี = จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ.

คำอ่าน = จิดตัดสะ ทะมะโถ สาธุ

คำแปล = การฝึกจิตเป็นความดี.


คำบาลี = จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.

คำอ่าน = จิดตัง ทันตัง สุขาวะหัง

คำแปล = จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.


คำบาลี = จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.

คำอ่าน = จิดตัง คุดตัง สุขาวะหัง

คำแปล = จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.


คำบาลี = จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ.

คำอ่าน = จิดตัง อัดตะโน อุชุกะมะกังสุ

คำแปล = คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง.


คำบาลี = สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ.

คำอ่าน = สะจิดตะ ปะริยายะกุสะลา พะเวยยุ

คำแปล = พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน.


คำบาลี = เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข.

คำอ่าน = เตละปัดตังยะถา ปะริหะเรยยะเอวัง สะจิดตะมะนุรักเข

คำแปล = พึงรักษาจิตของตน. เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.


คำบาลี = สจิตฺตมนุรกฺขถ.

คำอ่าน = สะจิดตะมะ นุรักขะถะ

คำแปล = จงตามรักษาจิตของตน.


คำบาลี = จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี.

คำอ่าน = จิดตัง รักเขถะ เมธาวี

คำแปล = ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต.


คำบาลี = ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.

คำอ่าน = ยะโตยะโต จะปาปะกัง ตะโตตะโต นะโม นิวาระเย

คำแปล = ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ


============

๕.โกธวรรค - หมวดโกรธ

============


คำบาลี = น หิ สาธุ โกโธ.

คำอ่าน = นะหิ สาธุ โกโธ

คำแปล = ความโกรธไม่ดีเลย.


คำบาลี = โกโธ สตฺถมลํ โลเก.

คำอ่าน = โกโธ สัดถะมะลัง โลเก

คำแปล = ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก.


คำบาลี = อนตฺถชนโน โกโธ.

คำอ่าน = อะนัดถะชะนะโน โกโธ

คำแปล = ความโกรธก่อความพินาศ.


คำบาลี = อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ.

คำอ่าน = อันทะตะมัง ตะทาโหติ ยังโกโท สะหะเตนะรัง

คำแปล = ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีเมื่อนั้น


คำบาลี = อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช.

คำอ่าน = อับโป หุดวา พะหุโหติ วัดทะเตโส อะขันติโช

คำแปล = ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทนจึงทวีขึ้น.


คำบาลี = โกโธ ทุมฺเมธโคจโร.

คำอ่าน = โกโธ ทุมเมทะ โคจะโร

คำแปล = ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม.


คำบาลี = โทโส โกธสมุฏฺฐาโน.

คำอ่าน = โทโส โกทะสะมุตะถาโน

คำแปล = โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน.


คำบาลี = นตฺถิ โทสสโม คโห.

คำอ่าน = นัดถิ โทสะสะโม คะโห

คำแปล = ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี.


คำบาลี = นตฺถิ โทสสโม กลิ.

คำอ่าน = นัดถิ โทสะสะโมกะลิ

คำแปล = ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี.


คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ.

คำอ่าน = โกทัง คัดวา สุขังเสติ

คำแปล = ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข.


คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา น โสจติ.

คำอ่าน = โกทัง คัดวา นะโสจะติ

คำแปล = ฆ่าความโกรธได้ ไม่เศร้าโศก.


คำบาลี = โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ.

คำอ่าน = โกธาภิภูโต กุสะลัง ชะหาติ

คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย.


คำบาลี = โกธโน ทุพฺพณฺโณ โหติ.

คำอ่าน = โกทะโน ทุบพันโน โหติ

คำแปล = คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง.


คำบาลี = ทุกฺขํ สยติ โกธโน.

คำอ่าน = ทุกขัง สะยะติ โกทะโน

คำแปล = คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.


คำบาลี = อโถ อตฺถํ คเหตฺวาน อนตฺถํ ปฏิปชฺชติ.

คำอ่าน = อะโถอัดถัง คะเหดวานะ อะนัดถัง ปะติปัดชะติ

คำแปล = คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์.


คำบาลี = โกธาภิภูโต ปุริโส ธนชานิ นิคจฺฉติ.

คำอ่าน = โกธาภิภูโต ปุริโส ทะนะชานิ นิคัดฉะติ

คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์.


คำบาลี = โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ.

คำอ่าน = โกทะสัมมะทะ สัมมัดโต อายะสักยัง นิคัดฉะติ

คำแปล = ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์.


คำบาลี = ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ.

คำอ่าน = ยาติมิดตา สุหัดชา จะ ปะริวัดเชนติ โกทะนัง

คำแปล = ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ.


คำบาลี = กุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ.

คำอ่าน = กุดโท อัดถัง นะชานาติ

คำแปล = ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ.


คำบาลี = กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ.

คำอ่าน = กุดโทธัมมัง นะปัดสะติ

คำแปล = ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม.


คำบาลี = ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ.

คำอ่าน = ยังกุดโท อุปะโรเทติ สุกะรัง วิยะทุกกะรัง

คำแปล = ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย.


คำบาลี = ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.

คำอ่าน = ปัดฉาโสวิคะเต โกเท อักคิทัดโทวะ ตับปะติ

คำแปล = ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือน ถูกไฟไหม้.


คำบาลี = โกเธน อภิภูตสฺส น ทีปํ โหติ กิญฺจินํ.

คำอ่าน = โกเทนะ อะพิพูตัดสะ นะทีปังโหติ กินจินัง

คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว.


คำบาลี = หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ.

คำอ่าน = หันติกุดโท สะมาตะรัง

คำแปล = ย่อมฆ่ามารดาของตนได้.


คำบาลี = โกธชาโต ปราภโว.

คำอ่าน = โกทะชาโต ปะราพะโว

คำแปล = ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย.


คำบาลี = โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท.

คำอ่าน = โกทัง ทะเมนะ อัดฉินเท

คำแปล = พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ.


คำบาลี = มา โกธสฺส วสํ คมิ.

คำอ่าน = มาโกทัดสะ วะสังคะมิ

คำแปล = อย่าลุอำนาจความโกรธ.


============

๖.มิตตวรรค - หมวดมิตร

============


คำบาลี = สตฺโถ ปวสโต มิตฺตํ.

คำอ่าน = สัดโถ ปะวะสะโต มิดตัง.

คำแปล = หมู่เกวียน (หรือต่าง) เป็นมิตรของคนเดินทาง.


คำบาลี = มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร.

คำอ่าน = มาตา มิดตัง สะเก คะเร.

คำแปล = มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน.


คำบาลี = สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ.

คำอ่าน = สะหาโย อัดถะชาสัดสะ โหติ มิดตัง ปุนับปุนัง.

คำแปล = สหาย เป็นมิตรของคนมีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ.


คำบาลี = สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.

คำอ่าน = สับพัดถะ ปูชิโต โหติ โย มิดตานัง นะทุบพะติ.

คำแปล = ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.


คำบาลี = สพฺเพ อมิตฺเต ตรติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.

คำอ่าน = สับเพ อะมิดเต ตะระติ โย มิดตานัง ทุบพะติ.

คำแปล = ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวง.


คำบาลี = มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก.

คำอ่าน = มิดตะทุบโพ หิ ปาปะโก.

คำแปล = ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวแท


คำบาลี = ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร.

คำอ่าน = ปาปะมิดโต ปาปะสะโข ปาปะอาจาระโคจะโร.

คำแปล = มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและที่เที่ยวเลว.


คำบาลี = ภริยา ปรมา สขา.

คำอ่าน = พะริยา ปะระมา สะขา.

คำแปล = ภริยาเป็นเพื่อนสนิท.


คำบาลี = นตฺถิ พาเล สหายตา.

คำอ่าน = นัดถิ พาเล สะหายะตา.

คำแปล = ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล.


คำบาลี = อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา.

คำอ่าน = อัดถัมหิ ชาตัมหิ สุขา สะหายา.

คำแปล = เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้.


คำบาลี = สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา.

คำอ่าน = สะเจ ละเพถะ นิบกัง สะหายัง จะเรยยะ เตนัดตะมะโน สะติมา.

คำแปล = ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา.


คำบาลี = โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กริยา.

คำอ่าน = โนเจ ละเพถะ นิบกัง สะหายัง เอโก นะจะ ปาปานิ กะริยา.

คำแปล = ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่พึงทำความชั่ว.


============

๗.วาจาวรรค - หมวดวาจา

============


คำบาลี= หทยสฺส สทิสี วาจา.

คำอ่าน= หะทะยัดสะ สะทิสี วาจา.

คำแปล= วาจาเช่นเดียวกับใจ.


คำบาลี= โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ.

คำอ่าน= โมกโข กันยานิยา สาทุ.

คำแปล= เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.


คำบาลี= มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.

คำอ่าน= มัดวา ตับปะติ ปาปิกัง.

คำแปล= คนเปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน.


คำบาลี= ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.

คำอ่าน= ทุตะถัดสะ ผะรุสา วาจา.

คำแปล= คนโกรธมีวาจาหยาบ.


คำบาลี= อภูตวาที นิรยํ อุเปติ.

คำอ่าน= อะพูตะวาที นิระยัง อุเปติ.

คำแปล= คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก.


คำบาลี= สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.

คำอ่าน= สังโวหาเรนะ โสเจยยัง เวทิตับพัง.

คำแปล= ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ.


คำบาลี= วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิ.

คำอ่าน= วาจัง มุนเจยยะ กันยานิ.

คำแปล= ควรเปล่งวาจางาม.


คำบาลี= สณฺหํ คิรํ อตฺถวติ ปมุญฺเจ.

คำอ่าน= สันหัง คิรัง อัดถะวะติ ปะมุนเจ.

คำแปล= ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์.


คำบาลี= ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย.

คำอ่าน= ตะเมวะ วาจัง พาเสยยะ ยายัดตานัง นะ ตาปะเย.

คำแปล= ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน.


คำบาลี= มนุญฺญเมว ภาเสยฺย.

คำอ่าน= มะนุนยะเมวะ พาเสยยะ.

คำแปล= ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ.


คำบาลี= นามนุญฺญํ กุทาจนํ.

คำอ่าน= นามะนุนยัง กุทาจะนัง.

คำแปล= ในกาลไหน ๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ.


คำบาลี= วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.

คำอ่าน= วาจัง ปะมุนเจ กุสะลัง นาติเวลัง.

คำแปล= ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินกาล.


คำบาลี= น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.

คำอ่าน= นะหิ มุนเจยยะ ปาปิกัง.

คำแปล= ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย.


============

๘.สุขวรรค - หมวดสุข

============


คำบาลี= สพฺพตถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ

คำอ่าน= สัพพะตะถะ ทุกขัสสะ สุขัง ปะหานัง

คำแปล= ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง


คำบาลี= อพฺยา ปชฺฌํ สุขํ โลเก

คำอ่าน= อัพยา ปัดชัง สุขัง โลเก

คำแปล= ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก


คำบาลี= นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ

คำอ่าน= นัตถิ สันติปะรัง สุขัง

คำแปล= ความสุขอื่นใด ยิ่งกว่าความสงบไม่มี


คำบาลี= นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ

คำอ่าน= นิบพานัง ปะระมัง สุขัง

คำแปล= นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


คำบาลี= อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยาํ

คำอ่าน= อะทัดสะเนนะ พาลานัง นิดจะเมวะ สุขี สิยา

คำแปล= จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล


คำบาลี= สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมตฺตา สุภาวิตาํ

คำอ่าน= สุขัง สุปะติ พุธโท จะเยนะ เมตตา สุภาวิตา

คำแปล= ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข


============

๙.เสวนาวรรค - หมวดคบหา

============


คำบาลี= วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ

คำอ่าน= วิดสาสา พะยะมันเวติ

คำแปล= เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา


คำบาลี= อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย

คำอ่าน= อะติจิรัง นิวาเสนะ ปิโยภะวะติ อัปปิโย

คำแปล= เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย


คำบาลี= ยํ เว เสวติ ตาทิโส

คำอ่าน= ยังเว เสวะติ ตาทิโส

คำแปล= คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น


คำบาลี= ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิเตเนว สพฺพทา

คำอ่าน= ทุกโข พาเลหิ สังวาโส อะมิเตเนวะ สับพะทา

คำแปล= อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู


คำบาลี= ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม

คำอ่าน= ธีโร จะสุขะสังวาโส ยาตีนังวะ สะมาคะโม

คำแปล= อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ


============

๑๐.ปกิณณกวรรค - หมวดเบ็ดเตล็ด

============


คำบาลี= โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา

คำอ่าน= โลโกปัตถัมภิกา เมตตา

คำแปล= เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก


คำบาลี= อรติ โลกนาสิกา

คำอ่าน= อะระติ โลกะนาสิกา

คำแปล= ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย


คำบาลี= อโรคฺยปรมา ลาภา

คำอ่าน= อะโรคยะปะระมา ลาภา

คำแปล= ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง


คำบาลี= กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา

คำอ่าน= กาโล คะสะติ ภูตานิ สับพาเวนะ สะหัตตะนา

คำแปล= กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง


คำบาลี= สพฺพญฺจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย

คำอ่าน= สับพันจะ ปะถะวี ทัดชา นากะตันยุมะภิราธะเย

คำแปล= ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้


คำบาลี= หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ

คำอ่าน= หะนันติ โภคา ทุมเมธัง

คำแปล= โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม


คำบาลี= สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ

คำอ่าน= สักกาโร กาปุริสัง หันติ

คำแปล= สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย


คำบาลี= นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต

คำอ่าน= นัตถิโลเก ระโหนามะ ปาปะกัมมัง ปักุบพะโต

คำแปล= ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก


คำบาลี= โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ

คำอ่าน= โภคา สันนิจะยัง ยันติ วัมมิโกวูปะจียะติ

คำแปล= โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น


คำบาลี= นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ

คำอ่าน= นับปะติกังเข อะนาคะตัง

คำแปล= ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง


============

๑๑.หมวดการศึกษา - ปรัชญาการดำเนินชีวิต

============


คำบาลี - หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ

คำอ่าน - หินะชัดโจปิ เจโหติิ อุตถาตา ทิติมา นะโร อาจาระสีละ สัมปันโน นิเส อักคีวะ พาสะติ

คำแปล - คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่น เพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ และ ศีล ก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว


คำบาลี - โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ วินโย วา สุสิกฺขิโต วเน อนฺธมหึโสว จเรยฺย พหุโก ชโน

คำอ่าน - โนเจอัตสะ สะกา พุดทิ วินะโย วาสุสิกขิโต วะเน อันทะมะหึโสวะ จะเรยยะ พะหุโก ชะโน

คำแปล - ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบ วินัยคนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดัง กระบือบอดในกลางป่า


คำบาลี - สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา

คำอ่าน - สากัดฉาย ปันยา เวทิตับพา

คำแปล - ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา


คำบาลี - ปุตฺเต วิชฺชาสุ ฐาปย

คำอ่าน - ปัตเต วิดชาสุ ถาปะยะ

คำแปล - บิดามารดา พึงให้บุตรเรียนศิลปวิทยา


คำบาลี - โยคา เว ชายเต ภูริ

คำอ่าน - โยคา เว ชายะเต พูริ

คำแปล - ปัญญา ย่อมเกิดขึ้น เพราะการฝึกฝน


คำบาลี - ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย

คำอ่าน - ปันยาวะ ทะเนนะ เสยโย

คำแปล - ปัญญานั่นแหละ ประเสริฐกว่าทรัพย์


คำบาลี - สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ

คำอ่าน - สัตสูสัง ละพะเต ปันยัง

คำแปล - ผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา


คำบาลี - ปญฺญา นรานํ รตนํ

คำอ่าน - ปันยา นะรานัง ระตะนัง

คำแปล - ปัญญาเปรียบเสมือน เครื่องประดับแห่งตน


คำบาลี - ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต

คำอ่าน - ปันยา โลกัตมิ ปัดโชโต

คำแปล - ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก


คำบาลี - อวิทฺทสู มารวสานุวตฺติโน

คำอ่าน - อะวิตทะสู มาระวะสานุ วัตติโน

คำแปล - คนโง่ มักตกอยู่ในอำนาจ แห่งมาร



============

๑๒.หมวดตน - การฝึกตน

============


คำบาลี - อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา

คำอ่าน - อัตตานัง ทะมะยันติ สัพพะตา

แปลว่า - ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ


คำบาลี - อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย

คำอ่าน - อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย

แปลว่า - ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี


คำบาลี - ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา

คำอ่าน - ลับพา ปิยาโอจิตเตนะ ปัดฉา

แปลว่า - ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก


คำบาลี - ยทตฺตครหิ ตทกุพฺพมาโน

คำอ่าน - ยะทัตตะคะระหิ ตะทะกุบพะมาโน

แปลว่า - ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น


คำบาลี - สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ

คำอ่าน - สุดทิ อะสุดทิ ปัดจัดตัง

แปลว่า - ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว


คำบาลี - สทตฺถปสุโต สิยา

คำอ่าน - สะทัดถะปะโต สิยา

แปลว่า - พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน


คำบาลี - นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย

คำอ่าน - นานยัง นิดสายะ ชีเวยยะ

แปลว่า - ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ


คำบาลี - กลฺยาณํ วต โภ สกฺขิ อตฺตานํ อติมญฺญสิ

คำอ่าน - กุนยานัง วะตะ โพ สุกขิ อัตตานัง อะติมันยะสิ

แปลว่า - ท่านเอ๋ย ! ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย


คำบาลี - สนาถา วิหรถ มา อนาถา

คำอ่าน - สะนาถา วิหะระถะ มา อะนาถา

แปลว่า - จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง


คำบาลี - ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ อตฺตโน ปน ฉาเทติ กลึว กิตวา สโฐ

คำอ่าน - ปะเรสัง หิโส วัดชานิ โอปุนาติ ยะถาพุสัง อัตตะโน ปะนะ ฉาเทติ กะลีวะ กิตะวา สะโถ

แปลว่า - โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้


============

๑๓.หมวดการแสวงหาสุข

============


คำบาลี - น หึสนฺติ อกิญฺจนํ

คำอ่าน - นะหึสันติ อะกินจะนัง

แปลว่า - ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน


คำบาลี - สุขิโน วตารหนฺโต

คำอ่าน - สุขิโน วะตาระหันโต

แปลว่า - ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ


คำบาลี - สกิญฺจนํ ปสฺส วิหญฺญมานํ

คำอ่าน - สะกินจะนัง ปัดสะ วิหันยะมานัง

แปลว่า - คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่


คำบาลี - ยาวเทวสฺสหู กิญฺจิ ตาวเทว อขาทิสํ

คำอ่าน - ยาวะเทวัดสะหู กินจิ ตาวะเทวะ อะขาทิสัง

แปลว่า - ตราบใด ยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้น ก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง


คำบาลี - หิรญฺญํ เม สุวณฺณํ เม เอสา รตฺตินฺทิวา กถา ทุมฺเมธานํ มนุสฺสานํ อริยธมฺมํ อปสฺสตํ

คำอ่าน - หิรันยัง เม สุวันนัง เม เอสา รัดตินทิวา กะถาทัมเมทานัง มะนุดสานัง อะริยะทัมมัง อะปัดสะตัง

แปลว่า - พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรมสนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา


คำบาลี - อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ

คำอ่าน - อะตีตัง นานุโสจันติ นับปะชับปันติ นาคะตัง

แปลว่า - ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบันฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส


คำบาลี - โสจํ ปณฺฑุกิโส โหติ ภตฺตญฺจสฺส น รุจฺจติ อมิตฺตา สุมนา โหนฺติ สลฺลวิทฺธสฺส รุปฺปโต

คำอ่าน - โสจัง ปันทุกิโส โหติ พัดตันจัดสะ นะรุดจะติ อะมิตตา สุมะนา โหนติ สันละวิดทัดสะ รูบปะโต

แปลว่า - มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลง อาหารก็ไม่อยากรับประทาน ศัตรูก็พลอยดีใจ ในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่


คำบาลี - อนาคตปฺปชปฺปาย อดีตสฺสานุโสจนา เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโต

คำอ่าน - อะนาคะตับ ปะชับปายะ อะดีตัดสานุโสจะนา

แปลว่า - ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง และ หวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงไปแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสดที่เขาถอนขึ้นทิ้งไว้ในกลางแดด


คำบาลี - โย อตฺตโน ทุกฺขมนานุปุฏฺโฐ ปเวทเย ชนฺตุ อกาลรูเป อานนฺทิโน ตสฺส ภวนฺติ มิตฺตา หิเตสิโน ตสฺส ทุกฺขี ภวนฺติ

คำอ่าน - โย อัตตะโน ทุกขะมะนานุปุตะโถ ปะเวทะเย ชันตุ อะกาละรูเป อานันทิโน ตัดสะ พะวันติ มิตตา หิเตสิโน ตัดสะ ทุกขี พะวันติ

แปลว่า - ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่มิใช่กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์


============

๑๔.หมวดเกื้อกูลสังคม

============


คำบาลี - ธนํ จเช องฺควรสฺส เหตุ

คำอ่าน - ธะนัง จะเช อังคะวะรัดสะ เหตุ

แปลว่า - พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ


คำบาลี - องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน

คำอ่าน - อังคัง จะเช ชีวิตัง รักขะมาโน

ปปลว่า - พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต


คำบาลี - จเช มตฺตาสุขํ ธีโร

คำอ่าน - จะเช มัตตาสุขัง ธีโร

แปลว่า - ผู้ฉลาดควรสละสุขเล็กน้อย เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม


============

๑๕.หมวดวาจา

============


คำบาลี - วาจํ ปมุญเจ กุสลํ นาติเวลํ

คำอ่าน - วาจัง ปะมุยะเจ กุสะลัง นาติเวลัง

แปว่า - ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินแก่ควรกาล


คำบาลี - พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนฺติ ยตฺถ ธีรา ปภาสเร

คำอ่าน - พัดธาปิ ตัดถะ มัดจันติ ยัดถะ ธีรา ปะภาสะเร

แปลว่า - คนมีปัญญา แม้มีปัญหา และ ถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใด ก็หลุดได้ในเรื่องนั้น


คำบาลี - หทยสฺส สทิสี วาจา

คำอ่าน - หะทะยัดสะ สะทิสี วาจา

แปลว่า - วาจาเช่นเดียวกับใจ


คำบาลี - น หิ มุญเจยฺย ปาปิกํ

คำอ่าน - นะหิ มุยะเจยยะ ปาปิกัง

แปลว่า - ไม่ควรเปล่งวาจาที่ชั่วเลย


คำบาลี - อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ

คำอ่าน - อะพัดธา ตัดถะ พัดชันติ

แปลว่า - คนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกผูกมัดตัวในเรื่องนั้น


คำบาลี - มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ

คำอ่าน - มุตวา ตับปะติ ปาปิกัง

แปลว่า - คนกล่าววาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน


คำลาลี - มนุญฺญเมว ภาเสยฺยํ

คำอ่าน - มะนุนยะเมวะ พาเสยยัง

แปว่า - ควรกล่าวแต่วาจา ที่น่าพอใจ


คำบาลี - ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา

คำอ่าน - ทุตะทัดสะ ผะรุสา วาจา

แปลว - คนโกรธมีวาจาหยาบ


คำบาลี - สจฺจํ เว อมตา วาจา

คำอ่าน - สัดจัง เว อะมะตา วาจา

แปลว่า - คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย


คำบาลี - อภูวาที นิรยํ อุเปติ

คำอ่าน - อะพูวาที นิระยัง อุเปติ

แปลว่า - คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก